เตือนสติคนเก่งแต่ไม่รู้กาลเทศะ

เตือนสติคนเก่งแต่ไม่รู้กาลเทศะ

เตือนสติคนเก่งแต่ไม่รู้กาลเทศะ คนเก่งจำนวนไม่น้อยไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเพราะเขาลืมคำว่ากาลเทศะไม่รู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ

เนื้อหาจากสามก๊ก

ในงานศพจิวยี่ นอกจากการปรากฎของขงเบังซึ่งเป็นแขกที่ไม่ได้รับเชิญ ยังมีแขกอีกคนหนึ่งที่สร้างความฮือฮาไม่น้อยกว่าขงเบ้ง นั่นคือบังทอง 1 ใน 2 ปราชญ์ผู้พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน (ปราชญ์คนแรกฉายามังกรหลับคือขงเบ้ง ปราชญ์อีกคนคือบังทองเจ้าของฉายาหงส์ดรุณ)

การปรากฏกายของปราชญ์ทั้งสองต่างกันขงเบ้งมาเพื่อกล่าวคำอาลัยแด่แม่ทัพใหญ่จิวยี่ แม้เขาจะเสแสร้งแต่ก็วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะทว่าบังทองผู้เรืองปัญญากลับดื่มเหล้าจนเมา ทั้งยังกล่าววาจาดูถูกจิวยี่ที่นอนในโลง ทำให้เหล่าแม่ทัพนายกองโกรธมาก จนเกือบเกิดเหตุนองเลือดโชคดีที่โลซกห้ามไว้ บังทองจึงไม่ต้องทิ้งชีวิตในงานศพจิวยี่

ทั้งขงเบ้งและโลซกต่างรู้ว่าบังทองเป็นยอดคนแห่งยุค ทำให้ทั้งสองต่างต้องการตัว โลซกชิงตัดหน้าเชิญบังทองไปพบกับซุนกวนก่อน ทว่าชุนกวนปฏิเสธที่จะรับบังทองมาเป็นที่ปรึกษา ในสามก็กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้บรรยายว่า

“ชุนกวนเห็นบังทองรูปร่างอัปลักษณ์ จึงลองถามว่าระหว่างบังทองกับจิวยี่ใครเก่งกว่ากัน บังทองตอบว่าจิวยี่นั้นก็แค่ชำนาญการศึก แต่ตัวบังทองรอบรู้สรรพสิ่งไม่ใช่แค่การรบ ทั้งยังรู้เรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งความรู้ดวงดาวอากาศและแผ่นดินต่างรู้สิ้น ซุนกวนมีใจรักจิวยี่ พอได้ฟังบังทองพูดเช่นนั้นก็ไม่พอใจ จึงบอกปัดกับโลซกไปว่าตอนนี้ตำแหน่งเต็ม หากมีตำแหน่งว่างจะให้คนไปตาม”

ในขณะที่ สามก๊ก 2010 นางง่อก๊กได้ผู้เป็นแม่ของซุนกวนได้ยินคนในงานศพจิวยี่มาเล่าให้ฟังถึงวีรกรรมของบังทองที่ไม่ให้เกียรติจิวยี่ จึงบอกให้ซุนกวนปฏิเสธโลซก ไม่รับบังทองมาเป็นคนเก่งระดับปราชญ์ผู้พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน อย่างบังทองกลับถูกซุนกวนปฏิเสธ (อย่างนุ่มนวล) เหตุผลหลักของการปฏิเสธไม่ว่าจะในวรรณกรรมหรือภาพยนตร์ก็คือ วาจาที่ไม่รู้กาลเทศะและที่ปรึกษา

ความลำพองในสติปัญญาตนเอง ทำให้บังทองผู้มากปัญญาเรื่องราวในตอนนี้สอนให้เราเห็นว่า สติปัญญาคือสิ่งสำคัญ ทว่ากาลเทศะกลับสำคัญกว่า คนบางคนไม่เก่งแต่รู้จักกาลเทศะก็ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เพราะรู้จักวางตนเองให้เหมาะสมกับความเป็นจริง รู้จักเวลาไหนควรทำอะไร เวลาไหนควรฉลาด เวลาไหนควรเงียบ หรือแม้กระทั่งเวลาไหนที่ควรจะโง่

ในขณะที่อีกคนหนึ่งมีสติปัญญาแถะความสามารถ ทว่าไม่รู้จักกาลเทศะจึงทำให้กลายเป็นตัวตลก เพราะนึกอยากทำอะไรก็ทำ อยากพูดอะไรก็พูดโดยไม่ดูสถานการณ์ นอกจากไม่รู้กาลเทศะ อาการอีกอย่างที่เป็นอาการต่อเนื่องคือ ภาวะการอวดฉลาด เรียกว่าไม่มีอะไรที่ไม่รู้รู้ทุกอย่าง รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่รู้จักกาลเทศะ ทำให้กลายเป็นพวกน้ำเต็มแก้วไม่ยอมพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า เพราะดักดานกับความฉลาดของตนเองหวังว่าคงไม่มีใครอยากเป็นอย่างบังทองผู้เรืองปัญญานะครับ ตกงาน…

 

 หนังสือ : อยู่อย่างฉลาด อยู่อย่างสามก๊ก

 ผู้แต่ง : เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป

สั่งหนังสือได้ที่ : https://bit.ly/3zu6Llk


บทความน่าอ่าน