บริหารความขัดแย้งด้วยการจัดฉาก

บริหารความขัดแย้งด้วยการจัดฉาก

ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในการทำงาน ผู้นำยุคใหม่จึงต้องมีความสามารถในการบริหารความขัดแย้งในหลากหลายรูปแบบหรือหลากหลายวิธีการ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น หรืออาจเรียกว่า บริหารความขัดแย้งด้วยการจัดฉาก

เนื้อหาจากสามก๊ก

ก่อนที่จิวยี่จะสิ้นลมได้บอกกับซุนกวนว่าโลซกคือผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการสืบทอดตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ซุนกวนจึงมาหาโลซกถึงบ้านและเล่าเรื่องที่จิวยี่สั่งเสียให้โลซกฟัง พร้อมทั้งถามความคิดเห็นของโลซกหากมารับตำแหน่งนี้ โลซกในเวลานั้นเป็นแค่ขุนนางธรรมดาไม่ได้เป็นที่ปรึกษา เนื่องจากถูกซุนกวนสั่งปลดเพราะไปเถียงเจ้านายเมื่อหลายเดือนก่อน ทำให้โลซกเจียมตัวดีว่าเขาคงไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง

ซุนกวนจึงบอกว่าการปลดโลซกเป็นแค่การแสดง ที่ซุนกวนต้องการเอาใจจิวยี่ เพราะก่อนหน้านั้นชุนกวนก็ปลดจิวยี่ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่แต่กองทัพกังดั่งขาดแม่ทัพผู้มากบารมีอย่างจิวยี่ไม่ได้ ชุนกวนจึงต้องง้อจิวยี่ให้มารับตำแหน่ง แน่นอนว่าคนอย่างจิวยี่เป็นคนดื้อทั้งมีความหยิ่งทะนง เพื่อให้จิวยี่เห็นถึงความจริงใจของซุนกวน ทำให้ซุนกวนต้องเล่นละครปลดโลซก ซึ่งตั้งตัวเป็นฝ่ายค้านความคิดของจิวยี่มาโดยตลอด ทำให้จิวยี่เชื่อใจซุนกวนและทำงานให้ซุนกวนได้เต็มที่ จนกระทั่งจิวยี่สิ้นลมหายใจ ชุนกวนจึงเฉลยเรื่องนี้ให้โลซกทราบในสิ่งที่ตนเองทำ เนื่องจากเป็นความจำเป็นที่ต้องย่ำขีดวามรู้สึกของโลซก แต่เพื่อชาติและส่วนรวมก็หวังว่าโลซกจะเข้าใจ…

ซุนกวนเป็นนักบริหารที่เชี่ยวชาญและชำนาญเรื่องคนมาก เขาปลดโลชกเพื่อแสดงละครให้จิวยี่ได้เห็นถึงความจริงใจ เพื่อให้จิวยี่กลับมารับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ด้วยความเต็มใจ และทำงานให้กับกังตั๋งหรือง่อก๊กจนสิ้นใจเมื่อจิวยี่สิ้นลม ซุนกวนก็มาบอกกับโลซกถึงสิ่งที่ตนเองทำ เพื่อให้โลชกเข้าใจถึงความจำเป็นในครั้งนั้น และขอให้เห็นแก่ส่วนรวมอย่าถือสาเรื่องที่เกิดขึ้น การบริหารคนของชุนกวนจะนับว่ามากเล่ห์ก็ว่าได้หรือจะบอกว่าเหลี่ยมจัดก็ไม่แปลก แต่ถึงที่สุดก็บริหารจัดการคนเก่งทั้งสองได้อย่างน่าทึ่ง

ข้อสรุปแนวคิดจากเรื่องนี้

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือ การเอาใจลูกน้องตัวยการเล่นละคร เจ้านายยุคนี้จำนวนไม่น้อยก็ใช้วิธีการนี้ในการบริหารความขัดแย้งหรือความเห็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่างสองถ่ายที่มีความเห็นต่าง ด้วยการเรียกฝ่ายหนึ่งมาตำหนีให้อีกฝ่ายเห็น เพื่อให้อีกรู้สึกพึงพอใจกับสิ่งที่เจ้านายทำ (ความจริงคือเจ้านายกับฝ่ายที่ถูกตำหนิได้มีการพูดคุยเพื่อเตรียมการจัตฉากกันอยู่แล้ว)

เมื่อเห็นว่าคู่กรณีถูกตำหนิหรือคาดโทษที่รุนแรง จากเดิมที่เคยรู้สึกไม่ชอบก็จะเริ่มเห็นใจความรู้สึกดี ๆ ก็อาจเกิดขึ้นมาอีกครั้งขอย้ำว่า วิธีนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อฝ่ายที่ถูกตำหนิต้องการคืนดี แต่อีกฝ่ายยังมีอารมณ์ไม่พอใจหรือบาตหมาง ทำให้ไม่ยอมรับไมตรีหรือยังไม่อยากจะคืนดี เมื่อสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ หัวหน้างานจึงต้องเช้ามาบริหารความขัดแย้ง เพื่อให้ทิ้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันโดยสันติด้วยวิธีการดังกล่าว

  • 📖 หนังสือ : อยู่อย่างฉลาด อยู่อย่างสามก๊ก
  • 📍 ผู้แต่ง : เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป
  • ✅สั่งหนังสือได้ที่ : https://bit.ly/3zu6Llk

บทความน่าอ่าน