[สรุป+รีวิวหนังสือ] Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

[สรุป+รีวิวหนังสือ] Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

ในบทความนี้ผมจะมารีวิวหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข มาเล่าให้ฟังกันนะครับ ผมเชื่อว่าหลายๆคนน่าจะรู้จักโค้ชหนุ่ม Money Coach จักรพงษ์ เมธพันธุ์ คุณครูทางด้านการเงินอันดับ 1 ของประเทศไทย

โดยสำหรับตัวผมนั้นได้รู้จักกับโค้ชหนุ่มจากทาง YouTube ตอนที่ผมขับรถไปทำงาน ตอนเรียนจบใหม่ๆนะครับ จำได้ว่าได้เปิดฟังหนังสือพ่อรวยสอนลูกและมีคนหนุ่มออกมาพูดสรุปได้ค่อนข้างดีมาก จากนั้นก็ได้ติดตามมาโดยตลอดทั้ง Podcast, YouTube และหนังสือหลายเล่มของทางโค้ชหนุ่มนะครับ ซึ่งผมชอบทุกเล่ม เพราะบทความในหนังสือเป็นเนื้อเน้นๆ

หนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข เล่มนี้มีจำนวนหน้าทั้งหมด 216 หน้า แต่งโดยโค้ชหนุ่ม Money Coach จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ผู้แต่งหนังสือ Best Seller หลายเล่ม และเป็นคนแปลหนังสือพ่อรวยสอนลูก (Rich Dad Poor Dad) หนังสือระดับตำนานของคนที่จะเริ่มเรียนรู้ทางด้านการเงิน บอกว่าหนังสือ Money 101 นี้ เป็นหนังสือที่สามารถอ่านได้เข้าใจค่อนข้างง่ายมากๆ เพราะเป็นความรู้พื้นฐานด้านการเงินที่ทุกคนควรจะรู้ ที่คนหนุ่มสรุปออกมาได้ตรงประเด็น อ่านเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็จบ ในเล่มบอกเล่าเรื่องการเงินตั้งแต่ การตั้งเป้าหมาย การจัดทำงบการเงินส่วนบุคคล การบริหารสภาพคล่อง การจัดสรรเงินออม การจัดการความเสี่ยง การวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณรวย และเกษียณเร็ว เพื่อให้พบอิสระทางการเงินได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

สารบัญ

#ทำไมคุณถึงควรอ่านหนังสือเล่มนี้?

1.เป็นหนังสือเริ่มต้นในการเรียนรู้ทางด้านการเงินได้ง่ายที่สุด

หากคุณเป็นคนที่อยากเริ่มต้น ในการเรียนรู้พื้นฐานทางด้านการเงินหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ตอบโจทย์มากๆครับ เพราะคุณจะรู้ทุกอย่างที่เป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับทางด้านการเงินจากการอ่านหนังสือเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น 

2.ยิ่งคุณมีความรู้ทางด้านการเงินเร็วมากเท่าไหร่ก็จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นเร็วเท่านั้น

ต้องบอกว่าความรู้ทางด้านการเงินนั้นเป็นพื้นฐานที่ทุกๆคนควรจะรู้นะครับ บางคนเรียนหนังสือมาทั้งชีวิตเพื่อไปทำงานหาเงิน แต่สุดท้ายก็บริหารเงินไม่เป็นทำให้เป็นเหมือนหนูที่ต้องถีบจักรเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ผ่อนต่อเดือนให้จบเป็นเดือนๆไป 

จะดีกว่าไหมครับ หากเรามีความรู้ทางการเงินที่สามารถบริหารรายได้ที่เข้ามาและสามารถใช้จ่ายได้อย่างมีความสุขมีเงินเหลือเก็บ โค๊ชหนุ่มเคยกล่าวประโยคหนึ่งไว้นะครับ “อย่าให้เรื่องเงินเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดในชีวิต เราควรใช้เวลาเพียงช่วงเวลาเดียวในชีวิตเพื่อหาเงินจากนั้นให้ใช้เวลาไปทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุขและเพื่อคนที่เรารัก” ซึ่งแน่นอนครับการที่คุณจะมีอิสรภาพทางด้านการเงินก็ต้องเริ่มต้นด้วยการมีความรู้พื้นฐานทางด้านการเงินก่อนครับ 

3.ใช้เวลาไม่นานในการอ่านเพราะมีแต่เนื้อเน้นๆ

อย่างที่บอกไปครับหนังสือเล่มนี้มีจำนวนหน้าเพียงประมาณ 200 หน้า และเนื้อหายในหนังสือเนี่ยเป็นความรู้ทางการเงินที่สามารถย่อยได้ง่ายมากๆดังนั้นถ้าอ่านหนังสือจริงจังจะใช้เวลาไม่ถึง 3-4 ชั่วโมงก็อ่านจบครับ 

 

#สรุปเนื้อหาหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

1.ประวัติของพี่หนุ่ม Money Coach

ในส่วนที่ 1 นั้นหนังสือ Money 101 จะเล่าถึงประวัติของพี่หนุ่มมันนี่โค้ชว่าเขาเคยประสบความล้มเหลวเป็นหนี้ถึง 18 ล้านจากครอบครัว ถึงแม้ว่าจะทำงานหนักแค่ไหนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ตรงนี้ได้ ก็เริ่มมาศึกษาถึงความรู้ทางด้านการเงินแบบจริงๆจัง ก็เริ่มค่อยๆแก้ปัญหาด้านการเงินไปทีละอย่างจนทำให้สุดท้ายนั้นได้ค้นพบอิสรภาพทางด้านการเงินตอนอายุ 34 ปี จากการศึกษาความรู้ทางด้านการเงินแบบจริงจัง

2.เข้าใจถึงเป้าหมายที่แท้จริงของตัวเอง

มีหลายคนต้องการที่จะมีเงินเป็นร้อยล้าน แต่ไม่รู้เลยว่าจะมีไปเพื่ออะไร?

กระบวนการการคิดค้นหาเป้าหมายที่แท้จริงของตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา อาจต้องใช้ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์นะครับว่าตัวเองนั้นต้องการอะไรที่แท้จริงในชีวิตกันแน่ โดยกระบวนการมีดังนี้คือ 

  • ชีวิต : เราต้องการอะไรในชีวิตที่แท้จริงกันแน่ 
  • การเงิน : สิ่งที่ต้องการใช้เงินสนับสนุนเท่าไหร่ 
  • การเรียนรู้และลงมือทำ : เราต้องรู้อะไรและต้องทำอะไรบ้าง 

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องตั้งเป้าหมายชีวิตเสียก่อนแล้วจึงตั้งเป้าหมายทางด้านการเงินไม่ใช่เอาเป้าหมายทางด้านการเงินเป็นตัวตั้ง

3.วิธีการบริหารเงินให้ประสบความสำเร็จ

ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจคำศัพท์ 2 คำนี้ก่อนนะครับคือ

3.1) สภาพคล่อง (Liquidity) คือสภาวะที่เรามีกินมีใช้มีเหลือเก็บ และถ้าจะให้ดีนั้นควรจะมีเหลือเก็บอย่างน้อย 10% ทุกครั้ง 

3.2) ความมั่งคั่ง (Wealth) คือสภาพคล่องที่สะสมในทรัพย์สินรูปแบบต่างๆวัดได้ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 

ดังนั้นถ้าเราสามารถบริหารให้มีเงินเหลือคืนมีสภาพคล่องแล้วสะสมไปเรื่อยๆก็จะเกิดความมั่งคั่งนั้นเองนะครับ โดยหลักการก็คือเมื่อมีรายได้เข้ามาให้เก็บก่อนค่อยเอาไปใช้ดั่งสมการ

[สรุป+รีวิวหนังสือ] Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

 วิธีการง่ายๆสามารถนำไปปรับใช้ก็คือ

  • หักออมก่อนใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ
  • สะสมเศษเหรียญ
  • หักภาษีฟุ่มเฟือย 10 เปอร์เซ็นต์ (เช่นดื่มกาแฟแก้วละ 150 บาท ให้หักเงินอีก 15 บาทไว้เก็บออมด้วย)

3.งบการเงินส่วนบุคคลคืออะไร?

[สรุป+รีวิวหนังสือ] Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

งบการเงินส่วนบุคคลจะประกอบด้วยงบการเงินย่อยๆ 2 อย่างก็คือ

  • งบรายรับ-รายจ่าย (Income Statement) 
  • งบแสดงสถานะทางการเงิน (Statement of Financial Position)

ถ้าอยากจะเป็นคนที่มั่งคั่งในระยะยาวเราจะต้องสะสมทรัพย์สินหรือสิ่งที่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น และลดหนี้สินคือสิ่งที่ทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้น(เงินลดลง) 

4.เป้าหมายของการออม

บางคนคิดว่ามีเงินอยู่ 1 ก้อนควรลงทุนอะไรดี จริงๆก่อนที่เราจะนำเงินไปลงทุนนั้นเราควรจะมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินก่อนนะครับ ซึ่งเราสามารถจัดการการบริหารเงินออมของตัวเองได้เป็น 3 ตระกร้า

  • ตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน (Emergency Basket) โดยหลักๆแล้ว ขนาดของตะกร้าเงินสำรองที่เหมาะสมสำหรับคนเราคือ 6-12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณมีรายจ่ายต่อเดือนคือเดือนละ 20,000 บาท คุณก็ควรจะมีเงินสำรองเก็บไว้ในตัวเองที่สามารถถอนมาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน 120,000-240,000 บาท เพื่อเป็นตัวการันตีเงินก้อนนี้จะทำให้คุณสามารถอุ่นใจได้ในเวลาที่คุณตกงานหรือมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมากับตัวคุณ โดยแหล่งที่เหมาะสมในการเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินก็คือเงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนตราสารหนี้ 
  • ตะกร้าเงินเกษียณรวย (Retirement Basket) ตะกร้านี้เป็นแหล่งสะสมเงินสำหรับไว้ใช้ยามเกษียณจากการทำงาน เงินทยอยสะสมและลงทุนในเครื่องมือกลุ่มตราสารการเงินโดยใช้วิธีการลงทุนที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน 
  • ตระกร้าเงินเกษียณเร็ว (Money Freedom basket) ตะกร้านี้เป็นแหล่งเงินที่จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสดเพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว ทำให้หมดกังวลเรื่องการเงินได้ก่อนเกษียณอายุการทํางาน

หัวใจสำคัญของการออมก็คือเราควรจะมีเงินในตะกร้าสำรองเผื่อฉุกเฉินก่อนเมื่อมีเงินในตะกร้ามีครบแล้วก็ค่อยๆทยอยเอาเงินที่ออมได้ในแต่ละเดือนมาใส่ตะกร้าเงินเกษียณรวยและตะกร้าเงินเกษียณเร็วเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินในอนาคตนะครับ 

5.การไม่มีหนี้ (จน) คือลาภอันประเสริฐ

สำหรับผู้ใหญ่ยุคเก่ามาจะสอนลูกหลานว่า “การไม่เป็นหนี้นั้นเป็นลาภอันประเสริฐ” เสร็จแล้วต้องบอกว่าประโยคนี้ถูกเพียงครึ่งเดียวนะครับถ้าหากเราเข้าใจว่านี่นั้นก็มีหนี้ที่ดี(หนี้รวย) และหนี้ที่ไม่ดี(หนี้จน) โดยในบทนี้จะมาแจ้งรายละเอียดและทำความเข้าใจของประเภทหนี้ให้มากขึ้นนะครับ

  1. หนี้จน (ฺBad Debt) คือ หนี้ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มยิ่งมีมากก็ยิ่งจน ได้แก่หนี้บริโภค เช่นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เพื่อประการประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐาน เช่นหนี้กู้ซื้อบ้าน หนี้กู้ซื้อรถยนต์ หนี้กยศ 
  2. หนี้รวย (Good Debt) คือ หนี้ที่สร้างรายได้เพิ่มเป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด เช่นบ้านเช่าที่สามารถหักค่าเช่าแล้วเหลือกระแสเงินสดบวก ,ธุรกิจที่กู้มาลงทุนแล้วหักค่าผ่อนแล้วเหลือเงินกระแสเงินสดเป็นบวก

ที่นี้พวกเราน่าจะเห็นแล้วนะครับว่าการก่อหนี้ที่ดีและหนี้ที่ไม่ดีต่างกันอย่างไร ซึ่งจากที่สังเกตมาเพราะว่าสาเหตุของการก่อหนี้ของคนส่วนใหญ่มีด้วยกันหลายสาเหตุเช่นการใช้จ่ายเกินตัว การอุปถัมภ์คนอื่นเกินกำลัง การลงทุนที่ผิดพลาดนั้นเอง 

6.ฝันอยากได้อะไรต้องมีแผน 

ในการที่เราอยากจะได้อะไรสักอย่างนั้นเราจะต้องพิจารณาหลายๆโดยเราสามารถพิจารณาเป็นประเด็นให้ขบคิดได้ดังนี้

1.ความจำเป็นในการซื้อและความเหมาะสมในการใช้งาน

  • ลองคิดดูนะครับว่าทำไมเราต้องซื้อรถยนต์เป็นของตัวเอง ซึ่งเราควรจะคิดถึงความจำเป็นจริงๆไม่ควรที่จะซื้อรถเพราะโปรโมชั่นเช่นการลดราคาของแถมหรือซื้อรถเพราะผลประโยชน์ทางภาษี
  • หากจำเป็นต้องมีรถยนต์ไว้ใช้งานรถยนต์ยี่ห้อไหนรุ่นไหนที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา

2.สภาพคล่องหลังการซื้อหรือการเป็นเจ้าของ

  • ลองพิจารณาถึงเงินผ่อนชำระกู้ซื้อรถรายเดือน
  • พิจารณาถึงค่าน้ำมันค่าทางด่วนและค่าจอดรถรายเดือน 
  • ค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะทางหรือระยะเวลา 
  • ค่าประกันภัยรายปี
  • ภาษีรถยนต์รายปี

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆนะครับที่ถ้าหากเราต้องการหรือฝันอยากจะมีอะไรให้ลองพิจารณาตามแผนในทีละประเด็นอย่างนี้เราจะได้ข้อสรุปออกมาที่ทำให้การเงินของเราดีมากยิ่งขึ้นนะครับ 

7.วางแผนรับมือกับเรื่องร้ายๆ

ในบทนี้ Money Coach จะสอนในเรื่องของการวางแผนเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่คาดฝันนะครับ ในระหว่างที่เรามีสภาพคล่องหรือมีเงินเหลือแล้วสะสมเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งนั้นก็จะมีเรื่องราวร้อยแปดพันเก้าที่อาจจะเป็นภัยกับความมั่งคั่งของเราเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเจ็บไข้ได้ป่วย ติดโควิด ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการหายไปของรายได้ ซึ่งจะเน้นไปใน 2 แนวทางด้วยกันคือการป้องกันและการวางแผนรับมือ

  • สำหรับการป้องกันนั้นก็คือเน้นการหลีกเลี่ยงและลดโอกาส ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเช่น หากกลัวเรื่องการเสียชีวิตแนวทางที่ดีก็คือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-7 ชั่วโมง กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมความเครียด 
  • ส่วนวิธีการวางแผนรับมือนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างก็คือการรับความเสี่ยงไว้เองหรือจะทำประกัน

สำหรับการรับความเสี่ยงไว้เอง เธอจะต้องเตรียมทุนหรือพิจารณาภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยเล็กน้อยไม่สบายปวดหัวตัวร้อนหลายคนอาจจะไม่ได้ซื้อประกันแบบ opd และแบบแผนผู้ป่วยนอก แล้วเลือกที่จะจ่ายแบบครั้งต่อครั้งซึ่งก็ไม่ผิดนะครับ แต่สำหรับตัวผมนั้นคิดว่าการซื้อความเสี่ยงนั้นเหมาะมากกว่าเพราะสิ่งเหล่านี้ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่แต่ถ้าเกิดขึ้นมาก็อาจจะทำให้ความมั่งคั่งของเราสูญเสียไปอย่างมาก

ซื้อประกันไว้ สำหรับตัวผมเองนั้นชอบวิธีการนี้มากกว่าเพราะเหมือนเป็นการซื้อประกันสุขภาพไว้จ่ายทิ้งไปทุกปี เพื่อความสบายใจ ผมจะซื้อประกันสุขภาพไว้ปีละประมาณ 30,000 บาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคร้ายแรงต่างๆ ในปัจจุบันนี้ผมเป็นโรคไขมันในหลอดเลือด ซึ่งต้องไปหาหมอทุกๆเดือนเสียค่า opd รอบละประมาณ 3,000 บาท บางเดือนก็มีป่วยเป็นไข้ มีช่วงนึงก็ติดโควิด ก็ได้ประกันนี้คุ้มครองเอาไว้ และถือว่าค่อนข้างคุ้มค่ามากๆนะครับ (ผมทำประกันมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือแล้วจนปัจจุบันผ่านมา 10 ปีก็ยังทำประกันสุขภาพตัวนี้อยู่ ซึ่งจะมาทำตอนอายุเยอะแล้วก็คงจะไม่ได้นะครับเพราะว่าจะมีการยกเว้นโรคที่เป็นโรคประจำตัวอย่างตัวผมก็คือโรคไขมันนั่นเอง) 

สำหรับใครที่สนใจที่จะทำประกันสุขภาพผมแนะนำคนดูแลคนนี้ คุณแหม่ม อลิอันซ์ นะครับ ดูแลดีมากๆเหมือนคนในครอบครัวจริงๆตั้งแต่แต่แผนประกัน ความคุ้มค่า สามารถกดเข้าไปปรึกษา คุยไลน์ที่ลิงค์นี้ หรือเข้าไปที่เพจ Facebook นี้ก็ได้ครับ

8.บริหารภาษีให้เป็น

บทนี้จะเป็นบทที่กล่าวถึงความรู้เรื่องภาษีแบบพื้นฐานของ Money Code นะครับซึ่งก็จะมีวิธีการคำนวณให้แบบคร่าวๆทั้งวิธีการคิดเงินได้สุทธิ วิธีการคิดเงินได้พึงประเมิน และวิธีการลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่ามากที่สุด 

9.ทำให้ชีวิตมีรายได้หลายทาง 

ก็บอกว่าในชีวิตปัจจุบันนั้นยุคนี้เป็นยุคที่จะต้องยอมรับความจริงว่าเรามาถึงยุคที่การมีรายได้ทางเดียวถือว่าเป็นอันตรายอย่างมากดังนั้นเราควรจะมีช่องทางการหารายได้ที่ 2 3 และ 4 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงรายได้ช่องใดช่องทางหนึ่งหายไปแบบกะทันหัน ทั้งนี้เราสามารถเก็บความรู้ทักษะและประสบการณ์จากงานและงานอดิเรกมาเสริมเป็น 3 แนวทางได้ง่ายๆดังนี้

  • สร้างสินค้าขึ้นมาขาย เช่น ถ้ามีฝีมือการทำขนมก็ทำขนมขึ้นมาขาย
  • สร้างเป็นบริการขึ้นมา เช่น ถ้ามีฝีมือทำขนมก็เปิดคอร์สสอนทำขนม
  • สร้างเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อรับค่าลิขสิทธิ์หรือค่าโฆษณา เช่นถ้ามีฝีมือน้องขนมก็เขียนหนังสือสอนทำขนมขาย หรืออาจจะทำเป็นคลิปวีดีโอเปิดช่องทางรายการบน YouTube หรือ Facebook รับรายได้เป็นค่าโฆษณา 

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นสร้างรายได้เสริมผมแนะนำให้วิเคราะห์โอกาสในการสร้างรายได้จากต้นทุนทางปัญญาดังต่อไปนี้คือ 

  • ความรู้และทักษะที่มี 
  • งาน งานอดิเรก หรือประสบการณ์ที่เคยผ่านมา
  • สายสัมพันธ์ต่างๆที่เรามีที่นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจในอนาคต 
  • ไอเดียทางธุรกิจจากปัญหาที่เราเคยพบเจอ 

10.หัดพิมพ์เงินใช้เอง

ในบทนี้มันนี่โค้ชจะสอนให้เราพยายามครอบครองทรัพย์สินที่สามารถสร้างกระแสเงินสดให้กับเราได้อย่างต่อเนื่อง หรือสามารถเรียกได้ว่า Passive Income นั่นเอง โดยวิธีการสร้าง Passive Income ก็ดังนี้คือ

  • มีเงินก้อนก็สามารถซื้อพันธบัตรกินดอกเบี้ยหรืออาจซื้อหุ้นกองทุนรวมกินปันผล
  • ใช้พลังทวีของเงินกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
  • การธุรกิจขึ้นมาสักอย่างแล้ววางระบบให้คนอื่นทำงานให้ วางมือ แล้วก็วางใจให้คนอื่นทำจากนั้นก็หมั่นคอยตรวจสอบตรวจดูกิจการและเก็บกินกำไร
  • สร้างงานที่เป็นลิขสิทธิ์ งานเขียนงาน เพลงวีดีโอบน YouTube หรือสิทธิบัตรแล้วเก็บกินส่วนแบ่งจากสิทธิ์นั้น 

ทั้ง “ดอกเบี้ย” “เงินปันผล” “ค่าเช่า” “กำไร” และ”ค่าลิขสิทธิ์” ก็คือเงินสดที่ทรัพย์สินของเราพิมพ์ออกมาให้เราใช้ไปตลอดนั่นเอง 

11.สรุปการจัดสรรเงินออมและลงทุน 

[สรุป+รีวิวหนังสือ] Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

12.ชีวิตคนเป็นผลของการ “เลือก”

ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ากระเป๋าคุณเลือกจัดการกับมันอย่างไร นั่นแหละครับจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่าผลลัพธ์ชีวิตคุณจะเป็นอย่างไร แต่นั้นเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะจัดการกับเงินอย่างไรผมขอแนะนำหลักการคิดการตัดสินใจให้คุณดังนี้คือ

  • ทุกครั้งที่ได้เงินมาเลือกจ่ายให้ตัวเองก่อนขั้นต่ำ 10%
  • ทุกครั้งที่ต้องใช้จ่ายเลือกโดยยึดหลักสภาพคล่องก่อนเสมอ 

13.การเงินส่วนบุคคล

วันนี้โค้ชบอกว่าตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่เขาได้บรรยายการเงินมาเขาพบว่าคนที่จะประสบความสำเร็จทางการเงินนั้นจะมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน 3 ข้อดังนี้คือ 

  • มีความรับผิดชอบทางการเงิน (Money Responsibility) สามารถมองปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบกับชีวิตเรา มองว่าตัวเราเองเป็นคนควบคุมและจัดการได้เพื่อเปลี่ยนแปลงปัญหาที่มีไปสู่ผลลัพธ์ทางการเงินที่ดีขึ้น 
  • มีความรู้ทางการเงิน (Money Literacy) มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินทั้ง 4 ด้านได้แก่การหารายได้ การใช้จ่าย การออม และการลงทุน 
  • มีวินัยทางการเงิน (Money Discipline) นำความรู้ทางการเงินมากำหนดเป็นเป้าหมายและแผนการเงินของตัวเองและสามารถปฏิบัติตามได้อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข เป็นยังไงกันบ้างครับคงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับด้านการเงินไปเต็มๆ หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะครับ 

สามารถซื้อหนังสือได้ที่ลิงค์นี้


แนะนำบทความที่น่าสนใจ